Skip to main content

เทคนิคง่ายๆ กับการเขียนแบบ 2 มิติด้วย AutoCAD

Autodesk AutoCAD

ตามความเป็นจริงแล้ว โปรแกรม AutoCAD ถูกออกแบบมาให้ทํางานเต็มรูปแบบ 3 มิติ แม้ว่าเราจะเขียนแบบ ด้วย AutoCAD LT AutoCAD เวอร์ชันที่ใช้งานได้เฉพาะรูปแบบ 2 มิติ) ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นงานเขียนแบบ 2 มิติก็ตาม แต่เมื่อเปิดไฟล์นั้นๆ ใน AutoCAD เวอร์ชันเต็ม และแสดงผลลัพธ์ของภาพออกมาในรูปแบบ 3 มิติแล้ว จะพบว่าแบบแปลน 2 มิติที่เราได้เขียนขึ้นมานั้นก็คือ การเขียนแบบที่อยู่ในเฉพาะระนาบ XY เพียงอย่างเดียวนั่นเอง รูปถัดไปจะแสดงตัวอย่างการแสดงผลภาพออกมาในมุมมองของ 2 มิติและ 3 มิติ สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามี มุมมองภาพเป็นแบบ 3 มิติก็คือ UCS หรือเครื่องหมายแสดงพิกัดจะเปลี่ยนไป

สําหรับการเริ่มต้นเขียนแบบของมือสมัครเล่นนั้น สิ่งหนึ่งที่ควรจดจําไว้ก็คือ ไม่จําเป็นจะต้องจําคําสั่งให้ได้ทั้งหมด นั่นก็เพราะว่าสิ่งไหนที่ไม่ได้ใช้งานเราจะลืมมันเสมอ ซึ่งเทคนิคง่ายๆ ที่ผู้เขียนต้องการจะแนะนําก็คือ

  1. ไม่จําเป็นต้องนึกถึงความถูกต้องของการเขียนแบบอย่างมืออาชีพ
  2. ให้นึกถึงช่วงเวลาที่เราเรียนเขียนแบบ หรือวาดรูปสมัยเด็กๆ ด้วยดินสอ ยางลบ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ ฯลฯ
  3. เริ่มต้นเขียนแบบลงในกระดาษอย่างไร การเขียนแบบด้วย AutoCAD ก็เป็นอย่างนั้น
  4. จะเขียนลายเส้นแบบไหน ก็ให้นึกถึงคําสั่งที่น่าจะมีใน AutoCAD แล้วหาคําสั่งนั้นๆ มาใช้งาน ในที่นี้จําเป็น จะต้องนึกถึงคําสั่งเป็นภาษาอังกฤษ และอาจจะต้องอ้างอิงคู่มือการใช้งานคําสั่งที่มีขายทั่วไป เช่น
    • ถ้าต้องการจะเขียนเส้นตรง ก็ให้ใช้คําสั่งที่ใช้เขียนเส้นตรง (คําสั่ง Line)
    • ถ้าต้องการจะเขียนวงกลม ก็ให้นึกถึงคําสั่งสร้างวงกลม (คําสั่ง Circle)
    • ถ้าต้องการจะลบเส้น ก็นึกถึงยางลบ (Eraser) (หรือก็คือ คําสั่งที่ใช้ในการลบ = Erase)
  5. ทดลองเขียนแบบด้วย AutoCAD อย่างจริงจัง ไม่ใช่ทดลองโดยการจินตนาการเอาเอง อย่างกับมือสมัครเล่น ที่เอาแต่อ่านคู่มือ แล้วเข้าใจว่าตัวเองใช้งานเป็น
  6. เขียนแล้วเขียนอีกจนคําสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ ติดค้างอยู่ในสมองซีกซ้าย 7. ศึกษาเพิ่มเติมและใช้คําสั่งอื่นๆ เพื่อให้ผลงานดีขึ้น และการทํางานรวดเร็วขึ้น 8. ศึกษาเพิ่มเติมถึงมาตรฐานในการเขียนแบบ ถ้าต้องการจะเป็นมืออาชีพ

 


Credit